การรื้อบ้านเก่าเพื่อสร้างใหม่ มีขั้นตอนอะไรบ้าง


2021-12-23 07:50

จำนวนครั้งที่อ่าน : 7

ในการสร้างบ้านใหม่ บ่อยครั้งมักจะต้องสร้างบนที่ดินซึ่งมีอาคารปลูกสร้างอยู่แล้ว การรื้อถอนอาคารก่อนปลูกสร้างบ้านใหม่จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลียงไม่ได้ การรื้อถอนอาคารให้ถูกต้องและปลอดภัยมีข้อควรรู้และขั้นตอนต่างๆ ดังนี้


ข้อควรรู้ในการรื้อถอนบ้าน_SCG HEIM

การรื้อถอนอาคารบางประเภทต้องมีการขออนุญาตรื้อถอนอาคารกับทางเขตหรือเทศบาลท้องถิ่น โดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22 กำหนดให้ อาคารที่มีส่วนสูงเกิน 15 เมตร ซึ่งอยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่าความสูงของอาคาร และอาคารที่อยู่ห่างจากอาคารอื่นหรือที่สาธารณะน้อยกว่า 2 เมตร ต้องได้รับใบอนุญาตรื้อถอนจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับอาคารอื่นและผู้คนในพื้นที่ข้างเคียง แต่หากอาคารหรือบ้านไม่เข้าข่ายตามมาตรา 22 ดังกล่าว สามารถรื้อถอนได้โดยที่ไม่ต้องแจ้งรื้อถอนอาคาร

ข้อควรรู้ในการรื้อถอนบ้าน_SCG HEIM

การขออนุญาตรื้อถอน ผู้รับเหมาที่ทำการรื้อถอนอาจจะเป็นผู้ขออนุญาตให้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลง แต่เจ้าของบ้านก็สามารถทำการขออนุญาตรื้อถอนอาคารเองได้ โดยติดต่อสำนักงานเขตหรือเทศบาลท้องถิ่นที่รับผิดชอบในพื้นที่นั้นๆ สำหรับระยะเวลาในการพิจาณาออกใบอนุญาตจะทราบผลภายใน 45 วันนับตั้งแต่ได้รับคำขอ หากเกิน 45 วันเจ้าพนักงานจะขยายเวลาได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 45 วัน และต้องมีหนังสือแจ้งเหตุในการขยายเวลาในแต่ละครั้ง

ในการว่าจ้างผู้รับเหมาเพื่อรื้อถอนอาคาร บางครั้งเจ้าของบ้านอาจจะไม่ต้องเสียค่ารื้อถอน เนื่องจากชิ้นส่วนอาคารบางอย่างผู้รับเหมาสามารถถอดไปขายทำกำไรได้ เช่น ไม้เก่า ประตู หน้าต่าง สายไฟ และเหล็กรูปพรรณ แต่หากเจ้าของบ้านต้องการจะเก็บชิ้นส่วนบางอย่าง เช่น ไม้เก่า หรือประตู เพื่อนำไปใช้กับบ้านใหม่ ต้องตกลงกับผู้รับเหมาเสียก่อน และอาจจะต้องเสียค่ารื้อถอนอยู่บ้าง

หากเจ้าของบ้านมีโครงการจะสร้างบ้านใหม่อยู่แล้ว ควรว่าจ้างผู้รับเหมารื้อถอนและผู้รับเหมาสร้างใหม่เป็นรายเดียวกัน โดยข้อดีคือ ช่วยลดปัญหาผู้รับเหมารื้อถอนทิ้งงานพร้อมกับทิ้งซากที่ไม่มีราคาไว้ ทำให้เจ้าของบ้านต้องเสียค่ารื้อถอนแก่ผู้รับเหมารายใหม่ และผู้รับเหมารายเดียวกันจะสามารถสำรวจตำแหน่งของฐานรากและเสาเข็มของอาคารเดิมก่อนรื้อถอน เพื่อทำการปรับแก้แบบฐานรากและเสาเข็มของอาคารใหม่ให้หลบฐานรากและเสาเข็มเดิม

หากไม่มีการสำรวจตำแหน่งฐานรากและเสาเข็มล่วงหน้าอาจต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการขุดหน้าดินเพื่อสำรวจอีกรอบ

เมื่อได้ใบอนุญาตรื้อถอนแล้วผู้รับเหมาจึงเริ่มเข้าทำการรื้อถอนอาคารได้

ขอบคุณที่มา : scgheim.com


I AM HERE 8899 พร้อมให้บริการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างทั่วไทย สอบถามรายละเอียดบริการเพิ่มเติม ติดต่อทีมงานของเรา 098-698-2551 Line ID : iamhere8899