สร้างบ้านพักล่วงล้ําทะเล : จั่งซี้...ต้องรื้อถอน !


2021-12-24 07:51

จำนวนครั้งที่อ่าน : 4

รายได้จาก “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” นับว่าเป็นกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยมาหลายสิบปีและแม้ปีนี้จะซบเซาลงไปมากเพราะอุบัติการณ์ของไวรัสโควิด ๑๙ แต่เราก็ยังหวังว่าการค้นพบวัคซีนจะช่วยให้การค้าการท่องเที่ยวของไทยกลับมาคึกคักและมีชีวิตชีวาอีกครั้งในเร็ววัน

เวลาที่วางแผนไปเที่ยว “ที่พักแรม” เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวและมีส่วนสําคัญ ในการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว จึงไม่แปลกที่ผู้ประกอบการจะพยายามสรรสร้างที่พักของตนให้สวยงาม สะดวกสบาย ดูโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์จนลูกค้าผู้ไปเยือนไม่อาจอดใจที่จะเซลฟี่ไปอวดเพื่อน ๆ ในโลกโซเชียล ให้ตามไปเช็คอินด้วยตัวเองสักครั้ง ! ที่ผ่านมาจึงมักพบข่าวกรณีผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวสร้างที่พักหรือสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ บุกรุกป่าสงวนหรือรุกล้ําทะเลปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง.... เช่นเดียวกับอุทาหรณ์ที่จะเล่าต่อไปนี้... ซึ่งชวนให้ นึกถึงเนื้อเพลงที่ว่า ... “จั่งซี้...มันต้องถอน !” มูลเหตุของเรื่องมีอยู่ว่าผู้ฟ้องคดีเป็นเจ้าของรีสอร์ทในจังหวัดตราด อ้างว่าได้รับความเดือดร้อน เสียหายจากการที่ผู้อํานวยการสํานักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาตราด (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑) มีคําสั่งให้รื้อถอนบ้านพัก รับรองนักท่องเที่ยวและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่ล่วงล้ําเข้าไปในทะเลโดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คําสั่ง แต่ถูกยกอุทธรณ์ จึงนําคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนคําสั่งพิพาท โดยอ้างว่าคําสั่งให้รื้อถอนไม่ได้ ให้โอกาสผู้ฟ้องคดีได้รับทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน ซึ่งสิ่งปลูกสร้างบางรายการสามารถ ขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ จึงเป็นการออกคําสั่งโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ฟ้องแย้งโดยขอให้ศาลมีคําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนอาคารหรือสิ่งอื่นใด ที่ปลูกสร้างล่วงล้ําเข้าไปในทะเลออกไปภายในเวลาที่ศาลกําหนด คดีมีจึงประเด็นพิจารณาว่า คําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ที่ล่วงล้ําไปในทะเลภายในน่านน้ําไทย ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ? ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อผู้ฟ้องคดีรับสารภาพในคดีอาญาต่อศาลจังหวัด ว่าได้ปลูกสร้างบ้านพักรับรอง สะพานทางเดิน และชานตากอากาศ ล่วงล้ําเข้าไปในทะเลภายในน่านน้ําไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ ศาลจังหวัดจึงมีคําพิพากษาลงโทษปรับผู้ฟ้องคดีเป็นเงิน ๑๖๖,๕๐๐ บาท ต่อมาเจ้าท่าได้ตรวจสอบพบว่าอาคาร และสิ่งปลูกสร้างตามคําพิพากษาดังกล่าวยังคงอยู่และใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจดังเดิม และตรวจพบ สิ่งปลูกสร้างใหม่ 1 รายการ เป็นท่าลาดคอนกรีตยื่นล้ําเข้าไปในทะเลเพื่อใช้สําหรับนําเรือขึ้นลงทะเลด้วย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีคําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกจากพื้นที่ทั้งหมด ๖๘๗.๑๗ ตารางเมตร ให้แล้วเสร็จภายใน ๔๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคําสั่ง แม้ว่าคําสั่งให้รื้อถอนดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นคําสั่งทางปกครอง แต่โดยที่มาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้บัญญัติไว้เพื่อให้ใช้บังคับสําหรับคําสั่งทางปกครอง ที่ “อาจกระทบถึงสิทธิ” ของคู่กรณี โดยเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือจากการได้รับอนุญาตตามกฎหมายแต่การออกคําสั่งให้รื้อถอนของเจ้าท่ากรณีดังกล่าวใช้บังคับกับผู้ฟ้องคดี ซึ่งกระทําการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย จึงหาได้มี “สิทธิ” ที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามกฎหมาย หรือจากการได้รับอนุญาต อันอาจถูกกระทบตามนัยของมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง แต่อย่างใดไม่ กรณีจึงไม่จําต้อง ให้โอกาสโต้แย้งตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ให้การรับสารภาพในคดีอาญาต่อศาลจังหวัดในข้อหา ความผิดต่อพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ ว่าได้ปลูกสร้างบ้านพักรับรอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติดังกล่าวและไม่เข้าหลักเกณฑ์สิ่งปลูกสร้าง ล่วงล้ําทะเลที่จะสามารถอนุญาตให้ทําได้ตามกฎหมาย ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคําสั่งตามมาตรา ๑๑๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ล่วงล้ําเข้าไปในทะเลทั้งหมดภายใน ๔๐ วัน นับแต่ วันที่ได้รับคําสั่งจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว พิพากษาให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทภายในเวลาที่ศาลกําหนด (คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๘๒๕/๒๕๖๐) คดีนี้... ถือเป็นตัวอย่างของผู้ประกอบการที่ยึดประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง โดยไม่คํานึงถึง ส่วนรวมและการรักษากฎหมาย ซึ่งสุดท้ายผลประโยชน์ที่ได้ก็ไม่ยั่งยืนและต้องถูกรื้อถอนทั้งหมด ทั้งนี้ ปัจจุบัน ได้มีการออกพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยให้อํานาจเจ้าท่าในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของอาคารฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนตามคําสั่งของเจ้าท่าเองได้ โดยไม่จําต้องร้องขอให้ศาลสั่งเหมือนในอดีต อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนก็คือ เจ้าของอาคารที่ก่อสร้างโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ... นะครับ (ปรึกษาคดีปกครอง ได้ที่สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕ และสืบค้นเรื่องอื่น ๆ ได้จาก www.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)


I AM HERE 8899 พร้อมให้บริการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างทั่วไทย สอบถามรายละเอียดบริการเพิ่มเติม ติดต่อทีมงานของเรา 098-698-2551 Line ID : iamhere8899