2022-05-28 10:28
จำนวนครั้งที่อ่าน : 4
เมื่อตึกแถวและทาวน์เฮ้าส์ที่เคยอยู่ตั้งแต่เด็กมีสภาพเก่าโทรม อีกทั้งต้องการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับสมาชิกใหม่ หรือบางคนอยากปรับเป็นคาเฟ่และโฮมออฟฟิศ ก็ถึงเวลาของการรีโนเวตกัน แต่ตึกแถวและทาวน์เฮ้าส์มีข้อจำกัดหลายอย่างที่ต่างจากบ้านเดี่ยว เราจึงรวบรวม 7 เรื่องต้องรู้ในการรีโนเวตเพื่อช่วยวางแผนและลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
ใครที่คิดต่อเติม รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ หรือตึกแถว มักมีคำถามว่า ต่อเติมเต็มพื้นที่ได้ไหมและต้องขออนุญาตก่อสร้างไหม ซึ่งถ้าตามกฎหมายนั้นไม่สามารถต่อเติมเต็มพื้นที่ได้ เพราะมีข้อกำหนดคือ
เนื่องจากเป็นอาคารที่มีการใช้โครงสร้างร่วมกัน คือ มีฐานราก เสา ผนังระหว่างคูหา โครงหลังคาและรั้วร่วมกัน คูหาที่ติดกันจึงมีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งเสาครึ่งผนัง รวมถึงพื้นที่ในอากาศและใต้ดิน การรีโนเวตจึงต้องระมัดระวังไม่ทำให้โครงสร้างร่วมเสียหาย และไม่ล้ำเกินขอบเขตบ้าน โดยมีสิ่งที่ควรระมัดระวัง เช่น
ตึกแถวที่อยู่ริมถนนมักพบปัญหาเรื่องพื้นที่กองเก็บวัสดุก่อสร้างและพื้นที่ทำงาน จึงต้องอาศัยการวางแผนงานก่อสร้างอย่างรอบคอบและใช้ระบบก่อสร้างกึ่งสำเร็จรูป เพื่อลดความยุ่งยากในการทำงาน เบื้องต้นอาจวางแผนการก่อสร้างดังนี้
ADVERTISEMENT
อีกเรื่องที่ต้องระวัง คือ การกำจัดเศษวัสดุ เช่น เศษปูน ทราย โดยไม่ทิ้งลงท่อระบายน้ำทั้งในบ้านและท่อสาธารณะ รวมถึงการขึงตาข่ายหรือแผ่นพลาสติกป้องกันเศษวัสดุและฝุ่นรบกวนเพื่อนบ้านด้วย
ระบบเสาเข็มที่สามารถเข้าทำงานในพื้นที่แคบได้มี 2 ระบบคือ เสาเข็มเหล็ก และเสาเข็มไมโครไพล์ (Micro pile)
ใหม่! โซฟาสำหรับบ้านพื้นที่จำกัด พับเก็บได้ง่าย ใช้แทนที่นอนก็สบาย
ควรเลือกระบบการก่อสร้างแบบแห้ง (Dry Process) ซึ่งเป็นการใช้วัสดุกึ่งสำเร็จรูปมาประกอบหน้างาน เช่น การใช้โครงสร้างเหล็กแทนการใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก การใช้ผนังโครงเบาแทนการก่ออิฐ รวมถึงการผลิตชิ้นส่วนจากโรงงานแล้วนำมาประกอบที่หน้างาน ก็ช่วยลดลดมลภาวะและขยะจากงานก่อสร้าง อีกทั้งก่อสร้างได้เร็วอีกด้วย
หลายคนอยากปรับเปลี่ยนหน้าบ้านที่ดูซ้ำๆ กันให้ไม่เหมือนบ้านอื่น ซึ่งองค์ประกอบด้านหน้าอาคารนี้เรียกว่า เปลือกอาคาร หรือที่นักออกแบบเรียกกันว่า ฟาซาด (Facade เป็นภาษาฝรั่งเศษ ในภาษาอังกฤษคือ Front) มาดูไอเดียการออกแบบด้านหน้าอาคารให้ดูน่าสนใจกัน
ซ้าย : สถาปนิกทดลองใช้วัสดุที่พบเห็นได้ทั่วไปอย่างแผ่นเหล็กเจาะรู (Perforate Sheet) มาจับคู่กับแพตเทิร์นสามเหลี่ยมที่สับหว่างกัน ซึ่งอ้างอิงมาจากจากแพตเทิร์นของหลังคากระเบื้องว่าวอันเป็นแพตเทิร์นที่คุ้นตาของคนไทย สั่งตัดแผ่นเหล็กถอดมาจากขนาดของแผ่นกระเบื้องจริงเพื่อให้ได้สัดส่วนที่เนียนตา สะท้อนลักษณะความร่วมสมัยของทั้งวัสดุและวิธีการสร้างสถาปัตยกรรม (สถานที่ BED ONE BLOCK HOSTEL)
ขวา : รีโนเวตตึกแถวอายุกว่าร้อยปี โดยรักษาฟาซาดเดิมไว้ให้ให้มากที่สุด เลือกใช้วัสดุใหม่อย่าง เหล็กขึ้นสนิมและกระจก ที่ดูรู้ว่าเป็นส่วนทำใหม่ แต่ก็ไม่ดูแปลกแยกเกินไป (สถานที่ Chez Mou)
ซ้าย : ออกแบบหน้าทาวเฮ้าส์เป็นระแนงเหล็กโปร่งสีขาว ที่ช่วยบังสายตา สร้างความปลอดภัยให้ภายในบ้าน และเปลี่ยนลุคบ้านให้ดูเรียบง่ายขึ้น (บ้านคุณวิภาวี เกื้อศิริกุล และคุณสิทธนา พงษ์กิจการุณ ชมมุมอื่นเพิ่มเติม)
ขวา : ปรับตึกแถวเป็นอพาร์ทเมนต์สีขาวโปร่งสบาย โดยออกแบบฟาซาดเป็นตะแกรงเหล็กที่ทำจากรั้วตะแกรงเหล็กสำเร็จรูปทำสีขาวให้หุ้มโครงสร้างเดิมของอาคารไว้ แล้วปลูกไม้เลื้อยเพื่อช่วยกรองแสงและสายตาจากภายนอก อีกทั้ง เสริมโครงสร้างเหล็กให้ขยายออกมาและสูงต่อเนื่องไปจนครอบเป็นหลังคาของดาดฟ้า (สถานที่ S49 RESIDENCE)
รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ เก่าให้กลายเป็นบ้านลอฟท์สุดเท่ โดยรื้อผนังเดิมออกทั้งหมดและออกแบบหน้าบ้านด้วยการทำโครงตะแกรงเหล็กครอบ พร้อมปลูกไม้เลื้อยและไม้แขวนสร้างความร่มรื่นและป้องกันขโมยไปในตัว (สถานที่ บ้านคุณต่อโชค จุลสุคนธ์ ชมมุมอื่นเพิ่มเติม)
ซ้าย : ต่อเติมด้านหน้าทาวน์เฮ้าส์สองชั้นอายุกว่า 30 ปีด้วยโครงสร้างเหล็ก พร้อมออกแบบประตูและผนังเหล็กทำสีดำที่เว้นช่องว่างสำหรับปลูกต้นไม้ให้เป็นส่วนหนึ่งของตัวบ้าน (สถานที่ บ้านคุณสุริยะ อัมพันศิริ ชมมุมอื่นเพิ่มเติม)
ขวา : ทาวน์เฮ้าส์เก่าอายุ 30 ปีที่ปรับเปลี่ยนเป็นอาคารพาณิชย์ ด้านล่างมีรั้วเหล็กสูงเพื่อความปลอดภัย ทำฟาซาดเป็นผนังกระจกและด้านบนเป็นแนวต้นไม้ที่ช่วยให้ตึกแถวดูมีชีวิตชีวา (สถานที่ บ้านคุณฉัตรชัย คงเดชอุดมกุล และคุณพิชญ์จุฑา จ๋วงพานิช ชมมุมอื่นเพิ่มเติม)
I AM HERE 8899 พร้อมให้บริการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างทั่วไทย สอบถามรายละเอียดบริการเพิ่มเติม ติดต่อทีมงานของเรา 098-698-2551 Line ID : iamhere8899